วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

การสร้างรายงานแบบ List (Create List Report)


การสร้างรายงานแบบ List (Create List Report)

                List: มีลักษณะเป็นตาราง เพื่อแสดงข้อมูลรายละเอียดจากฐานข้อมูล ซึ่งเป็นตารางที่จะแสดงข้อมูลรายละเอียดจากฐานข้อมูล เช่น รายการสินค้าและรายชื่อลูกค้า ในตารางจะแสดงข้อมูลในแถวและคอลัมน์ แต่ละคอลัมน์จะแสดงค่าทั้งหมดสำหรับข้อมูลรายการในฐานข้อมูลหรือการคำนวณขึ้นอยู่กับรายการข้อมูลในฐานข้อมูล คือมีคอลัมน์อยู่ด้านบนและด้านล่างเป็นส่วนของข้อมูล

 
ตัวอย่างการสร้างรายงานด้วย List
1. การ Group Data โดยเลือกที่แถบเมนู (Toolbar) เลือก Group/Ungroup  
 
- ยกตัวอย่างที่ 1 เลือกข้อมูลที่ต้องการ โดย Ctrl+Click เลือก Product line, Product type และ Product
 

  - ทำการ Group Data โดยคลิกที่ แถบเมนู (Toolbar) เลือก Group/Ungroup  
- จะได้ผลแสดงดังนี้ โดยคลิกที่ แถบเมนู (Toolbar) เลือก Run Report

แสดงรายงานที่ยังไม่ได้ ทำการ Group Data
แสดงรายงานที่ทำการ Group Data แล้ว
2. การใช้ Group Span: เพื่อแสดงข้อมูลเมื่อรายการแรกมีความสัมพันธ์กับรายการที่สอง
- ยกตัวอย่างที่ 2 ต่อจากตัวอย่างที่ 1 เลือกในส่วนข้อมูล Product line ไปที่  Properties -> Data ->Group Span -> Product
 
          - เลือกในส่วนข้อมูล Product type ไปที่ Properties -> Data ->Group Span -> Product
 
    - จะได้ผลแสดงดังนี้
·       Sort Data  คือการเรียงลำดับข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลขและตัวอักษร จากมากไปน้อยหรือจากน้อยไปและ จากA –Zหรือ Z-A มาก  โดยคลิกที่ แถบเมนู (Toolbar) เลือก Sort

-  Ascending: เรียงจากน้อยไปหามาก, A –Z
- Descending: เรียงจากมากไปหาน้อย, Z-A
- ยกตัวอย่างที่ 3 เลือกข้อมูลที่ต้องการ คือ Revenue โดยต้องการค่ามากไปหาน้อย


- จะได้ผลแสดงดังนี้ (ค่า Revenue จะเรียงจากมากไปหาน้อย)

·        Grouping & Sorting
- ยกตัวอย่างที่ 4 ในส่วน Properties เลือก Select Ancestor  เลือก List  ไปที่ Properties ->Data-> Grouping & Sorting ในส่วน Group ไปเลือก Product line แล้วใน Data items ลาก Revenue ไปวางในที่โฟล์เดอร์ Sort List
 

- จะได้ผลแสดงดังนี้ (จะได้ชื่อ Product line ที่มีค่า Revenue จากน้อยไปหามาก)
 
·       Section คือการสร้างหัวข้อของรายงานจากคอลัมน์ที่ต้องการ โดยคลิกที่ แถบเมนู (Toolbar) เลือก Section

- ยกตัวอย่างที่ 5 เลือกคอลัมน์ที่ต้องการคือ Country แล้วคลิกที่ แถบเมนู (Toolbar) เลือก Section  
 
- จะได้ผลแสดงดังนี้
 
·       Pivot List to Crosstab คือการเปลี่ยนรูปแบบรายงานจาก List ไปเป็น Crosstab โดยคลิกที่ แถบเมนู (Toolbar) เลือก Pivot List to Crosstab
- ยกตัวอย่างที่ 6 เลือกคอลัมน์ที่ต้องการคือ Product line เพื่อให้เป็นส่วนคอลัมน์ใน Crosstab เลือก Pivot List to Crosstab
 
- จะได้ผลแสดงดังนี้
·       List Header and Footers คือการสร้างหัวข้อหรือเนื้อหาที่สำคัญของรายงาน โดยคลิกที่ แถบเมนู (Toolbar) เลือก Headers&Footers ซึ่งสามารถทำได้ 3 ตำแหน่ง ดังนี้
              1. ที่ด้านบนหรือล่างของรายงานแต่ละหน้า
                2. ที่ด้านบนของรายงานหน้าแรกหรือด้านล่างของรายงานหน้าสุดท้าย
                3. ก่อนหรือหลังจากการทำ Group Data
- ยกตัวอย่างที่ 7 เลือก Headers&Footers  แล้วเลือก List Headers & Footers เลือก List page header (เพื่อบอกชื่อของรายงานหรือหัวข้อรายงาน: ซึ่งในส่วนนี้จะใช้การพิมพ์หัวข้อตามความต้องการ โดยการ double-click ไปที่ส่วนนี้แล้วพิมพ์ข้อความ เช่น Revenue by Retailer Type) และ Overall header (เพื่อบอกหัวข้อของข้อมูล: พิมพ์ข้อความ เช่นAttention: Sales Managers )
 
- จะได้ผลแสดงดังนี้
 
·       Aggregate Data คือการจัดการกับข้อมูลที่เป็นตัวเลข เพื่อการ Sum, Total, Count, Average, Maximum, Minimum เป็นต้น โดยคลิกที่ แถบเมนู (Toolbar) เลือก Aggregate
- ยกตัวอย่างที่ 8 เลือกข้อมูลที่เป็นตัวเลขคือ Revenue โดยคลิกที่ แถบเมนู (Toolbar) เลือก Aggregate  เลือก Total เพื่อหาผลรวมของข้อมูล จะได้ผลของรายงานดังนี้
·       Conditional Styles คือการจัดรูปแบบของข้อมูลตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยคลิกที่ แถบเมนู (Toolbar) เลือก Conditional Styles
- ยกตัวอย่างที่ 9 เลือกข้อมูลที่ต้องการคือ Revenue เลือก Conditional Styles  โดยมีเงื่อนไขว่า
                -  Revenue >600,000 เลือก Very Good
                -  Revenue อยู่ระหว่าง 200,000 และ 600,000 เลือก Average
                -  Revenue<200,000 เลือก  Below Average
 
* ลูกศรขึ้น= สูงกว่า , ลูกศรลง= ต่ำกว่า
- จะได้ผลแสดงดังนี้
 
·       Filter Data คือ การกรองเฉพาะข้อมูลที่ต้องการโดยคลิกที่ แถบเมนู (Toolbar) เลือก Filters  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
 
1. Detail Filter: การกรองรายละเอียดของข้อมูลให้แคบลง ได้แก่
                -  Filter ข้อมูล Revenue ที่มากกว่า 200000
Expression Definition
[Revenue] > 200000
                - Filter ข้อมูลระหว่าง 2007-01-01 ถึง 2008-01-01
Expression Definition
[Sale(query)].[Time dimension].[Date] between 2007-01-01 and 2008-01-01
 
            2. Summary Filter: การกรองข้อมูลที่เป็นค่า Summary

* กรองข้อมูล Product line ที่มีผลรวม (Total) ของ Revenue มากกว่า 1,000,000,000
 
- ยกตัวอย่างที่ 10.1 ทำการ Filter ข้อมูล Revenue ที่มากกว่า 200,000 (Detail Filter)
 
 
 
** สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้โดยเลือก Validate
 
* ในส่วน Application
    -  Before auto aggregation: ทำการกรองข้อมูลก่อนที่จะ Aggregate
    - After auto aggregation: ทำการกรองข้อมูลหลังทำ Aggregate แล้ว
- จะได้ผลแสดงดังนี้
 
- ยกตัวอย่างที่ 10.2 ทำการ Filter ผลรวม Revenue ที่มากกว่า 100,000,000 (Summary Filter)
  
- จะได้ผลแสดงดังนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น